วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำซ้ำ มีการทบทวน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพิ่มทักษะทางการคิด

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:46

    ทฤษฏีการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำซ้ำ
    ตัวอย่าง ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดก์
    หลักการเรียนรู้
    “ การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยแสดงในรูปแบบต่างๆจนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่าการลองถูกลองผิด”
    1. กฎแห่งความพร้อม
    ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง ความพร้อมทางวุฒิภาวะและอวัยวะต่างๆของร่างกาย
    ความพร้อมทางด้านจิตใจ หมายถึง ความพร้อมที่เกิดจากความพึงพอใจเป็นสำคัญ ถ้าเกิดความพอใจย่อมนำไปสู่การเรียนรู้ ถ้าเกิดความไม่พอใจ จะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้
    2. กฎแห่งการฝึกหัด การทำซ้ำบ่อยๆย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ที่นานและคงทน
    2.1 กฎแห่งการใช้ (Law of Used)
    2.2 กฎแห่งการไม่ใช้ ( Law of disused)
    3. กฎแห่งผลที่ได้รับ (Law of Affect)
    กล่าวถึงผลที่ได้รับ ถ้าได้ผลที่พึงพอใจ ผู้เรียนย่อม อยากเรียนรู้อีกต่อไป
    ดังนั้น ถ้าจะทำให้ การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง มั่นคงถาวร ต้องทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่พึงพอใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคน ซึ่งตรงกับการเสริมแรงของสกินเนอร์

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:49

    ทฤษฏีการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำซ้ำ
    ซึ่งจะตรงกับ กฎของธอร์นไดก์ ในข้อที่ 2 นะคะ

    ตอบลบ
  3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
    โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism) ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง

    ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)
    1.การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
    2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
    3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
    4.ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
    5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
    6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
    7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
    8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

    ตอบลบ
  4. ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)
    Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
    ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
    1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
    พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
    1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
    1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
    1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
    1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
    1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
    1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้

    2. จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
    1.การรับรู้
    2. การตอบสนอง
    3. การเกิดค่านิยม
    4. การจัดระบบ
    5. บุคลิกภาพ
    3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
    1.การรับรู้
    2.กระทำตามแบบ
    3.การหาความถูกต้อง
    4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
    5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

    ตอบลบ
  5. ภัคจิรา เกิดโต
    ทฤษฎีแนวคิดของธอร์นไดค์
    ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike.1874-1949)
    นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ที่เชื่อในเรื่องของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)
    ธอร์นไดค์ได้เสนอกฎการเรียนรู้เรื่องการทำซ้ำ ดังนี้
    กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง

    ตอบลบ