วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้ ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เขียนชื่่อเรื่องงานวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัย
สมมติฐาน
จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้ ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 สิงหาคม 2555 เวลา 05:38

    ชื่อเรื่องงานวิจัย การพัฒนาระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับมหาวิทยาบูรพา

    1. วัตถุประสงค์
    1.1 เพื่อพัฒนาระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา
    1.2 เพื่อหาความพึงพอใจของนักจิตวิทยาและนิสิตระดับปริญญาตรีที่ใช้ระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    2. สมมติฐานการวิจัย
    2.1 ประสิทธิภาพของระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพาได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในระดับดี
    2.2 นักจิตวิทยาและนิสิตที่ใช้ระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

    --ตัวแปรตาม
    1.ประสิทธิภาพของระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับมหาวิทยาลับบูรพา
    2.ระดับความพึงพอใจของนักจิตวิทยาและนิสิตที่ใช้ระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    --ตัวแปรต้น คือ ระบบให้คำปรึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา

    --กลุ่มตัวอย่าง
    1. นักจิตวิทยา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 8 คน มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อ มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีความเชี่ยวชาญในด้านการให้คำปรึกษา
    2. นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตจะเลือกจากคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมคือ นิสิตที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ในระดับดี สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ และ นิสิตที่เคยไปปรึกษากับนักจิตวิทยา

    --เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบประเมิน / แบบสอบถาม

    ตอบลบ
  2. งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนะบบมัลติมีเดียแบบทบทวน วิชาคณิตศาสตร์
    2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน วิชาคณิตศาสตร์
    3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด กับวิธีเรียนแบบปกติ

    สมมติฐาน
    1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่า 1.0 ตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์
    - ตัวแปรต้น
    เกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์
    - ตัวแปรตาม
    ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน วิชาคณิตศาสตร์
    - กลุ่มตัวอย่าง
    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบสอบถาม
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน วิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    - ตัวแปรต้น
    สถิติหลังเรียน
    - ตัวแปรตาม
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    - กลุ่มตัวอย่าง
    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบทดสอบ

    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียแบบทบทวน โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดสูงกว่าวิธีเรียนแบบปกติอย่างมีนัยความสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
    - ตัวแปรต้น
    เทคนิคการจัดการเรียนรู้
    - ตัวแปรตาม
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    - กลุ่มตัวอย่าง
    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบทดสอบ


    ตอบลบ
  3. งานวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1 .เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
    2 .เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
    3 .เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ
    สมมติฐานการวิจัย
    1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย 85/85
    - ตัวแปรตาม
    ประสิทธิภาพตามเกณฑ์
    - ตัวแปรต้น
    ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    - กลุ่มตัวอย่าง
    นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (หลักสูตร 2 ปี)
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบทดสอบ

    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    - ตัวแปรตาม
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    - ตัวแปรต้น
    หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    - กลุ่มตัวอย่าง
    นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (หลักสูตร 2 ปี)
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบทดสอบ

    3 .ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    - ตัวแปรตาม
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    - ตัวแปรต้น
    หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    - กลุ่มตัวอย่าง
    นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    แบบทดสอบ

    ตอบลบ
  4. นางสาวภัคจิรา เกิดโต

    งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานทางด้านกิจกรรมในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
    วัตถุประสงค์การวิจัย
    1.เพื่อสังเคราะห์รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
    2.เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
    3.เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
    4.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการส
    แบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
    5.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ
    6.เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการได้รับจัดกิจกรรมด้วยบทเรียนการสอนแบบผสมผสาน
    สมมติฐานการวิจัย
    - จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้
    1.ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีผลต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานทางด้านกิจกรรม ในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ที่สังเคราะห์ขึ้นอยู่ในระดับมากขึ้นไป
    ตัวแปรตาม : ความคิดเห็นที่สังเคราะห์ขึ้นอยู่ในระดับมากขึ้นไป
    ตัวแปรต้น : รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานทางด้านกิจกรรม
    กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เชี่ยวชาญ
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบทดสอบ



    2.ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากขึ้นไป
    ตัวแปรตาม : ความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมากขึ้นไป
    ตัวแปรต้น : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
    กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เชี่ยวชาญ
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบทดสอบ
    3.ประสิทธิภาพของบทเรียนที่เรียนแบบผสมผสานทางด้านกิจกรรม ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
    ตัวแปรตาม : ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
    ตัวแปรต้น : บทเรียนที่เรียนแบบผสมผสานทางด้านกิจกรรม
    กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เรียน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบทดสอบ
    4.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    ตัวแปรตาม : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    ตัวแปรต้น : รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
    กลุ่มตัวอย่าง : ผู้เรียน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบทดสอบ


    ตอบลบ